
โรคซึมเศร้า หรือ แค่เครียด มีวิธีเช็คตัวเองให้ชัวร์ก่อนพบแพทย์
โรคซึมเศร้า กลายเป็นปัญหาใหญ่สำหรับสังคมในปัจจุบัน เพราะนับวันมีผู้ป่วยจากโรคเพิ่มขึ้นมากขึ้น และมีจำนวนผู้ป่วยเป็นผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย แม้ในกลุ่มของเด็กและเยาวชนก็มีสัดส่วนของผู้ป่วยโรคนี้ใกล้เคียงกับจำนวนผู้ป่วยสูงอายุ ด้วยสภาวะในปัจจุบัน ทุกคนต่างต้องเจอกับปัญหา จนเกิดความเครียด ทั้งปัญหาเศรษฐกิจ บ้านเมือง สังคม การเจ็บป่วย หรือแม้แต่ปัญหาในการดำเนินชีวิตประจำวัน ซึ่งแต่ละคนก็จะเผชิญกับปัญหาแตกต่างกันไป การแยกให้ออกว่าเราแค่เครียด หรือ ป่วยเป็นซึมเศร้า

โรคซึมเศร้า สังเกตได้ด้วยตัวเองง่าย ๆ ก่อนค่อยไปพบแพทย์ก็ได้ ดังนี้
1. ผู้ป่วยโรคซึมเศร้า จะมีอาการท้อแท้ หดหู่ นานเกินกว่า 2 สัปดาห์ขึ้นไป ผิดปกติมากกว่าคนทั่วไป แม้กิจกรรมหรืองานอดิเรกที่เคยชอบ เคยทำ กลับกลายเป็นเบื่อ ไม่อยากทำ ไม่มีอารมณ์สนใจในสิ่งที่ตนเองเคยชื่นชอบ แต่ถ้าหากมีอาการเครียด มักจะวิตกกังวลอยู่ช่วงระยะเวลานึง หากเมื่อแก้ปัญหาได้ก็จะดีขึ้น หรือสามารถหันไปทำกิจกรรมยามว่างที่ชอบ เพื่อเป็นการเบี่ยงเบนความสนใจ ไม่ให้คิดมากก็ได้อีกด้วย

2. นอนไม่หลับ อาการนี้แยกได้ยาก เพราะส่วนใหญ่คนที่มีความเครียดมักจะมีอาการนอนไม่หลับเป็นอาการแรกอยู่แล้ว แต่ถ้าหากคลายความวิตก หรือมีกิจกรรมอื่น อาการนอนไม่หลับนี้จะค่อยๆ หายได้เอง แต่สำหรับผู้ป่วยโรคซึมเศร้า มักจะมีอาการนอนไม่หลับที่ผิดปกติมากกว่า เช่น นอนไม่หลับข้ามวันข้ามคืน หรือแม้แต่แสดงออกมาเป็นการนอนหลับที่นานขึ้น นอนมากขึ้นกว่าเดิม ถ้าหากมีอาการนอนไม่หลับเกินกว่า 2 สัปดาห์และมีอาการอื่นร่วม ควรรีบพบแพทย์ดีที่สุด
3. การทานอาหาร สำหรับคนที่มีอาการเครียดจะมีไม่ค่อยอยากทานอาหาร หรือทานน้อยลง เบื่ออาหารที่ทานอยู่ สำหรับผู้ป่วยโรคซึมเศร้านั้น มักจะทานน้อยลงกว่าเดิม หรือในทางกลับกันอาจทานมากจนผิดวิสัย เช่น จากปกติไม่ทานอะไร ก็ทานได้ เป็นต้น
4. แยกตัวออกจากสังคม ผู้ป่วยโรคซึมเศร้านั้น มักไม่อยากยุ่งสุงสิงพูดคุยกับใคร มักจะเก็บตัวเงียบๆ คนเดียวลำพัง แต่ถ้าหากแค่เครียดยังสามารถใช้ชีวิตตามปกติได้ เพียงแต่อาจจะพูดคุยน้อยลง เก็บตัวมากขึ้น แต่อาการเครียดสามารถทุเลาลงได้ หากได้รับกำลังใจ หาทางออกของปัญหา หรือมีคนพูดคุยด้วยอย่างจริงใจ

5. พยายามฆ่าตัวตาย เป็นข้อที่อันตรายและร้ายแรงที่สุดของผู้ป่วยโรคซึมเศร้า อาการร่วมคือรู้สึกไม่อยากอยู่บนโลก ไร้ค่า มักมีความคิดนี้แทรกเข้ามาตลอด แต่ถ้าหากแค่เครียดคุณอาจจะมีความคิดนี้วูบๆ ก็ได้เช่นกัน เพียงแต่เมื่อคิดได้ หรือคลายความกังวลจากปัญหาที่เผชิญอยู่ได้ จะลืมความคิดนี้ไป
อย่างไรก็ตามหากเพียงมีอาการใดอาการหนึ่งมากเกินกว่า 2 สัปดาห์ หรือหากรู้สึกไม่ดี ควรหาคนที่ไว้ใจได้คอยพูดคุย ปรึกษาหาทางออก หรือไม่ก็ควรรีบไปพบแพทย์จะดีที่สุด เพื่อตัวเองและคนที่รักคุณ เพราะทุกปัญหามีทางออกเสมอ
ติดตามเว็บไซต์การดูสุขภาพ
ข่าวสารและบทความอาการความเครียด คือภาวะของอารมย์ความรู้สึกที่ส่งผลต่อสุขภาพ