
ระบบประสาท มีปัญหา…จะออกกำลังกายยังไงดี ทำให้ร่างกายไม่สามารถควบคุม เคลื่อนไหวได้
ระบบประสาท นั้นไม่ได้หมายถึงอาการทางจิตเวชแต่อย่างใด แต่ระบบประสาทนั้นจะให้น้ำหนักไปในเรื่องของร่างกาย การตอบสนองทางกายจะสั่งการจากไขสันหลังเพื่อส่งกระแสไปทั่วร่างกาย และผู้ที่มีปัญหาระบบประสาทนั้น มักจะเกิดปัญหาในระบบประสาทภายใต้การบังคับจิตใจมีปัญหา (เซลล์ประสาทสั่งการ) เสียสหการ เราคงได้ยินอาการป่วยของผู้ป่วย ALS, Multiple Sclerosis มาบ้างแล้ว
ปัญหาระบบประสาทเสื่อมลง หรือระบบประสาทบาดเจ็บ ทำให้ร่างกายไม่สามารถควบคุม เคลื่อนไหว หรือใช้ชีวิตได้อย่างปกติ จึงควรมีการจัดโปรแกรมออกกำลังกายฟื้นฟูให้มีคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยที่ดีขึ้น ยืดอายุขัยให้นานยิ่งขึ้น

การออกแบบโปรแกรมออกกำลังกายในผู้ที่มีปัญหาทางด้าน ระบบประสาท มีดังนี้
- การแนะนำหลักการ FITT ในการออกกำลังกายในผู้ที่มีปัญหาระบบประสาท จะแบ่งวิธีการได้ดังนี้
- F : Frequency ควรออกกำลังกายอย่างต่ำ 3 วันต่อสัปดาห์ ในผู้ที่มีปัญหาระบบประสาทต้องฝึกแบบแรงต้าน อาจจะใช้ลูกบอลหรือยางยืดสำหรับออกกำลังกายเพื่อบริหารกล้ามเนื้อ เพื่อให้ระบบประสาทตอบสนองกับกิจกรรมที่ให้ไป
- I : Intensity ในผู้ป่วยระบบประสาทสั่งการตั้งแต่ระดับที่ 3 ขึ้นไป (ในระดับทั้งหมดตั้งแต่ 1-5 ซึ่งระดับ 5 อยู่ในเกณฑ์ปกติ ส่วนระดับ 3 จะเป็นระดับที่เริ่มแสดงความผิดปกติ) การออกกำลังกายแบบเวทเทรนนิ่ง ใช้ความหนักต่ำ จะทำเป็นเซตสัก 10-12 ครั้ง 2-3 เซตด้วยยางยืด ลูกบอลบริหาร โดยเพิ่มจำนวนครั้งตามน้ำหนัก มุ่งเน้นไปที่การเคลื่อนไหว ความคงทนของกล้ามเนื้อเป็นหลัก เพื่อฟื้นฟูการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อลาย การบาดเจ็บของสมองจากการกระทบกระเทือน จากอุบัติเหตุ และเป็นการกระตุ้นระบบประสาทไขสันหลังในตัว

- T : Time การใช้เวลาให้เหมือนกับการบริหารร่างกายในจำนวนที่ทำได้ ใช้เวลาสัก 15-30 นาทีต่อวันกำลังดี จะรวมฝึกเพิ่มความยืดหยุ่น การทรงตัว และการประสานงานระหว่างสมองและร่างกายที่ทำแต่ละท่าประมาณ 10-20 วินาที ในผู้ที่มีปัญหาระบบประสาทจะเสียสมดุลมากกว่าคนปกติ จึงต้องมีการฝึกในด้านนี้สม่ำเสมอ
- T : Type ชนิดออกกำลังกาย สามารถออกกำลังกายแบบแรงต้านและแอโรบิกได้ แต่ต้องมุ่งเน้นไปที่การเคลื่อนไหว ความคงทนของกล้ามเนื้อเป็นหลัก แต่ต้องให้เขาได้ฝึกความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อ การทรงตัว และการประสานงานระหว่างสมองและร่างกายให้สัมพันธ์กันเป็นหลัก แต่ต้องใช้ความนุ่มนวลค่อนข้างมาก

บางครั้งเราอาจจะทำได้เท่าที่สามารถดูแลได้ แต่ก็ยังดีกว่าไม่ได้ทำมันเลย การที่เราได้เพิ่มการออกกำลังกายเพื่อเป็นการเพิ่มการทำงานของกล้ามเนื้อแบบมี Functional เข้ามา ช่วยยืดอายุขัยให้นานขึ้นอีกระดับ และช่วยรักษาร่างกายให้สามารถใช้ชีวิตปกติ ถึงแม้ว่าจะกลับมาได้ไม่เต็มร้อยก็ตาม ก็จะสามารถไปดูแลที่บ้านได้อย่างมีประสิทธิภาพและช่วยป้องกันโรคให้กับตัวเราเอง และมีความสุขระหว่างผู้ป่วยโรคระบบประสาทและผู้ดูแลอีกด้วย
ติดตามเว็บไซต์การดูแลสุขภาพ