
อาการเจ็บที่หัวเข่า หรือเสียวหัวเข่า สัญญาณเตือนของร่างกายสิ่งที่ไม่ควรมองข้าม
หลายคนที่สงสัยเกี่ยวกับ อาการเจ็บที่หัวเข่า หรือในบางครั้งก็มีอาการเสียวจิ๊ดที่หัวเข่า แต่ซักพักก็หายไป ทำให้เกิดข้อสังเกตและกังวลว่าจะเป็นสัญญาณเตือนของโรคข้อเข่าเสื่อมหรือไม่ ซึ่งไม่จำเป็นว่าจะต้องอยู่ในกลุ่มผู้สูงอายุเสมอไป สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งกับวัยกลางคนหรือในกลุ่มผู้ที่ออกกำลังกายอย่างหนักจนเกิดอาการบาดเจ็บตรงบริเวณหัวเข่าก็ได้ อีกทั้งการเจ็บแปลบที่หัวเข่าอยู่บ่อยครั้ง อาจเป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้าม เพราะคล้ายกับร่างกายจะส่งเสียงบอก

ปัญหาที่ต้องระวัง อาการเจ็บที่หัวเข่า หรือเสียวหัวเข่ามีหลายแบบ
- มีอาการปวดเข่า โดยมักจะปวดในขณะที่เดิน เคลื่อนไหว หรือเดินลงน้ำหนัก เมื่อได้พักจะรู้สึกดีขึ้น แต่ถ้ามีอาการหนัก มักจะปวดตลอดเวลา
- ข้อเข่าฝืดแข็ง เป็นอาการที่มักเกิดขึ้นในช่วงตอนเช้า เมื่อตื่นนอน หรืออาจเกิดขึ้นหากนั่งอยู่ท่าเดิมเป็นเวลานาน ทำให้ไม่เกิดการเคลื่อนไหว และเมื่อพอขยับจะเปลี่ยนท่าลุกเดิน ยืน จะรู้สึกเหมือนข้อเข่ายึด ต้องอาศัยเวลาในการเหยียดเข่าอยู่พักใหญ่ เกิดจากน้ำหล่อเลี้ยงในช่วงของข้อเข่าลดน้อยลง

- อาการเสียวบริเวณหัวเข่าที่เรามักเป็นกันอยู่บ่อย แบ่งได้ 2 สาเหตุ คือ
- เกิดจากกล้ามเนื้อบริเวณรอบเข่ามีการตึงมาก และเมื่อเข่าทรุดจะทำให้กล้ามเนื้อบริเวณนั้นเกร็งค้างไว้ หากเกร็งไว้เป็นเวลานานจะทำให้รู้สึกเสียวหัวเข่าแปลบๆ ได้
- ผิวกระดูกเสียดสีกัน จริงแล้วกระดูกเรานั้นมีเส้นประสาทอยู่ค่อนข้างมาก หากเมื่อผิวกระดูกเสียดสีกันมากเข้า จะรู้สึกเจ็บจิ๊ด อีกทั้งหากผิวกระดูกที่เสียดสีกันเสียหายมาก ร่างกายจะกระตุ้นให้มีการสร้างเซลล์กระดูกขึ้นมาใหม่ จนอาจทำให้ทิ่มแทงเนื้อเยื่อบริเวณรอบหัวเข่า และทำให้เกิดอาการปวดเข่าขึ้นมาได้
- เข่าอ่อนแรง เมื่อยง่าย คล้ายกับอาการข้อเข่าฝืด แต่เข่าอ่อนแรงนั้น มักจะเป็นอาการเหยียดเข่า หรืองอเข่าไม่ได้ เมื่อต้องการเหยียดหรืองอ ต้องใช้เวลานาน ซึ่งโดยส่วนใหญ่อาการนี้มักจะหายไปได้เอง หากไม่ทำกิจกรรมที่ใช้ข้อเข่านัก แต่ถ้าหากมีอาการหนัก มักจะมีอาการปวดมากโดยเฉพาะในเวลากลางคืน หากรุนแรงอาจจะรู้สึกว่าข้อเข่าบวม มีถุงน้ำในช่องข้อหากปล่อยไว้เรื้อรังอาจส่งผลให้กล้ามเนื้อต้นขาลีบ ข้อขาโก่งผิดรูปได้

อย่างไรก็ตามอาการเจ็บเข่าหรือเสียวหัวเข่านั้น สามารถดูแลรักษาได้ด้วยตนเองในเบื้องต้น เช่น หลีกเลี่ยงการเดิน หรือยืนนานๆ เพราะอาจจะยิ่งทำให้มีอาการปวดมากขึ้น หรืออาจใช้วิธีประคบร้อนเย็นสลับกันไป แต่ส่วนใหญ่เมื่อหยุดกิจกรรมที่มีความเสี่ยงต่ออาการปวดเข่าก็จะค่อยๆ ดีขึ้นได้เอง เพียงแต่ถ้าหากมีอาการหนักแล้ว และยังเป็นอยู่บ่อยครั้ง และกินเวลานานมากขึ้น ควรรีบไปพบแพทย์จะดีที่สุด
ฝากกดติดตาม วิธีดูแลตัวเอง
ข่าวสารสุขภาพที่น่าสนใจ อาการปวด เจ็บ ปลายนิ้ว สัญญาณบ่งบอกถึงโรค